Home » บทความ » รู้จักกับ e-Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่กฏหมายยอมรับ

รู้จักกับ e-Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่กฏหมายยอมรับ

ปัจจุบันการทำธุรกรรมได้ปรับเปลี่ยนวิธีในการติดต่อสื่อสาร โดยที่อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน อย่างอินเตอร์เน็ต และเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจทั้งภาครัฐ และเอกชน ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นกลไลสำคัญที่จะขับเคลื่อนธุรกิจและยกระดับการทำธุรกิจให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้น

โดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) รองรับผลตามกฏหมายของธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มาตั้งแต่ปี 2544

เอกสารมากมายให้โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร BeeECM จัดการให้คุณ โทร.062-461-5593 ทดลองใช้ระบบฟรีได้แล้ววันนี้ !!!

e-Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?

e-Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ เครื่องมือทางอิเล็กทรอกนิกส์สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของกับข้อมูลอิเล็กทรอกนิกส์นั้น สามารถใช้เป็นตัวเลข อักขระ อักษร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัย ทำให้มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้

สนใจระบบจัดการเอกสารติดต่อเรา ..

e-Signature กับนิยามตามกฏหมาย

เมื่อเราต้องการแสดงเจตนาที่จะเชื่อมโยงเราเองเข้ากับข้อความเพื่อให้เกิดผลผูกพัน เช่น ยอมรับเงื่อนไขตามข้อความที่ปรากฏในข้อตกลง หรือรับรองความถูกต้องของข้อความที่เราเองให้ไว้ เราสามารถทำได้โดยการลงลายมือชื่อ หรือเซ็นชื่อบนเอกสารกระดาษ ซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปที่ทำกันมา แต่พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ทำให้เราสามารถลงลายมือชื่ออิเล็กทรอกนิกส์ได้

สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อ ก็คือการทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อได้ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวกับข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ ทั้งนี้บุคคลจะมีวัตถุประสงค์หรือเหตุผลของการลงลายมือชื่อที่แตกต่างกันตามการทำธุรกรรมแต่ละประเภท เช่น

  • การอนุมัติเห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อยอมรับข้อกำหนดที่ปรากฏอยู่ในสัญญา
  • การรับรองหรือยืนยันความถูกต้องของข้อความ เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองว่าข้อความในการแสดงแบบรายการภาษีเงินได้เป็นรายการที่ถูกต้องสมบูรณ์
  • การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อตอบแจ้ง การรับเอกสาร
  • การเป็นพยานให้กับการลงลายมือชื่อ หรือการทำธุรกรรมของบุคคลอื่น เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองเอกสาร หรือรับรองลายมือชื่อ

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างไร

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 กำหนดเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตามมาตรา 9 (หลักของมาตรา 9 คือ การลงลายมือชื่อต้องใช้วิธีการที่เชื่อถือได้) รองรับความเท่าเทียมกันระหว่างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่อที่เซ็นกันปกติ ซึ่งเป็นหลักที่เปิดกว้างเพื่อรองรับวิธีการทุกประเภทที่อาจนำมาใช้ในการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมาตรา 9 แบ่งส่วนประกอบเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่ 1 คือ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ส่วนที่ 2 คือ การแสดงถึงความเห็นชอบของบุคคลในการรับรองข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็น “วิธีการที่เชื่อถือได้” (ดูพฤติการณ์ที่เหมาะสมในการกำหนดว่า อย่างไรคือวิธีที่เชื่อถือได้ เช่น ความซับซ้อนของเครื่องมือ ศักยภาพของระบบ การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น)

ประเภทที่ 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ตามมาตรา 26 เมื่อใช้เทคโนโลยีตามคุณสมบัติ หรือหลักเกณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการเชื่อถือได้พิจารณาตามที่กฏหมายกำหนด เช่น เทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) (หมวด 2 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อเสริมมาตรา 9) ดังนั้นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26 จึงเป็นการลงลายมือชื่อตามมาตรา 9 และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 วรรคสอง ก. ถึง ค. อีก

ประเภทที่ 3 ประเภทที่ 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 26 และอาศัยใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนดในมาตรา 28 กฏหมายว่าด้วยเรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ลายมือชื่อดิจิตอลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ และใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ตัวอย่างการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ตัวอย่างของรูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

  1. ลายมือชื่อตามมาตรา 9
  • การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล
  • การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • การใช้สไตลัส (Stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • การใช้ระบบงานอัตโนมัติ ที่มีการยืนยันตัวผู้ใช้งาน มาประกอบกับรูปแบบของลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์
  1. ลายมือชื่อตามมาตรา 26
  • การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล

สนใจบริการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ดิจิตอล และระบบจัดการเอกสาร

โทร.02-551-2097 กด 601 หรือ 062-461-5593

สรุป

ในการลงลายมือชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงลายมือชื่อประเภทไหน ก็มีผลทางกฏหมายเหมือนกัน ต่างกันที่ความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์หลักฐานทางกฏหมายที่ยุ่งยากไม่เท่ากัน โดยประเภทที่ต้องพิสูจน์มากไปน้อยจะเรียงตามลำดับตามนี้ ประเภทที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ ซึ่งจะเลือกใช้ประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของธุรกรรมเอกสารว่ามีความสำคัญขนาดไหน

ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ..