จากกรณีระบบคอมพิวเตอร์พิวเตอร์ของโรงพยาบาลสระบุรี ถูกโจมตีจาก Ransomware หรือ “ไวรัสเรียกค่าไถ่” ที่ทำการบล็อกข้อมูลทั้งหมดในระบบ แลกกับการจ่ายเงินค่าไถ่ ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลคนไข้ได้เลย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าตัวไวรัสเรียกค่าไถ่นี้กัน ว่าคืออะไร แล้วมีวิธีการป้องกันเจ้าไวรัสนี้ได้อย่างไร
เอกสารมากมายให้โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร BeeECM จัดการให้คุณ โทร.062-461-5593 ทดลองใช้ระบบฟรีได้แล้ววันนี้ !!!
Ransomware คืออะไร ?
Ransomware หรือ “ไวรัสเรียกค่าไถ่” คือ มัลแวร์ (Malware) ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกับมัลแวร์ประเภทอื่นๆ คือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด แต่จะทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกเข้ารหัส ซึ่งการถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าจะต้องใช้คีย์ในการปลดล็อกเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา ผู้ใช้งานจะต้องทำการจ่ายเงินตามข้อความ “เรียกค่าไถ่” ที่ปรากฏ
โดยข้อมูลหรือข้อความ “เรียกค่าไถ่” จะแสดงขึ้นหลังไฟล์ถูกเข้ารหัสเรียบร้อยแล้ว จำนวนเงินค่าไถ่ที่เรียกก้จะแตกต่างกัน และการชำระเงินต้องชำระผ่านระบบที่มีความยากต่อการตรวจสอบ เช่น การโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ Playsafecard หรือ Bitcoin เป็นต้น แต่การจ่ายเงินค่าไถ่ก็ไม่ได้การันตีว่าผู้ไม่หวังดีจะส่งรหัสที่ใช้ในการปลดล็อกไฟล์ให้
ช่องทางการแพร่กระจายของ Ransomware
บ่อยครั้งที่แฮ็กเกอร์พุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่พวกเขาคิดว่ามีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินค่าไถ่เพื่อให้ได้ข้อมูลของพวกเขากลับไปโดยเร็ว ไม่กี่ปีมานี้องค์กรยักษ์ใหญ่ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลสำคัญ และแม้กระทั่ง Sony Pictures ก็ตกเป็นเหยื่อ แต่เกือบทุกคนที่สามารถตกเป็นเหยื่อการโจมตีแรนซัมแวร์ได้และมันมักจะเกิดขึ้นด้วยช่องทางต่อไปนี้
- แฝงมาในรูปแบบเอกสารผ่านทางอีเมล
ในกรณีส่วนใหญ่ Ransomware จะมาในรูปแบบของเอกสาร แนบมายังอีเมล โดยอีเมลผู้ส่งก็มักจะเป็นผู้ให้บริการที่เรารู้จักดี อย่างเช่น ธนาคาร และจะใช้หัวข้อประโยคที่ดูน่าเชื่อถืออย่าง “Dear Valued Customer” , “Underlivered Mail Returned to Sender” , “Invitation to connect on Linkedin” เป็นต้น ประเภทของไฟล์แนบที่เห็นส่วนใหญ่ก้จะเป็น .doc หรือ .xls ผู้ใช้อาจคิดว่าเป็นไฟล์ Word หรือ Excel ธรรมดา เมื่อตรวจสอบชื่อไฟลืเต็มๆ ก็จะเห็นนามสกุล .exe ซ่อนอยู่ เช่น Paper.doc.exe แต่ผู้ใช้จะเห็นเฉพาะ Paper.doc และทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นไฟล์ที่ไม่อันตราย - แฝงตัวมาในรูปแบบ Mulvertising (โฆษณา)
Ransomware นี้อาจจะแฝงตัวเข้ามาในรูปแบบของโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาที่ฝังมากับซอฟแวร์ หรือตามเว็บไซต์ต่าง ๆ - เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อันตราย และอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์
ผู้ใช้ยังสามารถกลายเป็นเหยื่อได้โดยไม่ได้ตั้งใจเพียงเข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บที่ถูกผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุม ตัวอย่างเช่น ถูกดาวน์โหลดโค้ด ที่เป็นอันตรายผ่านทางโฆษณาแบนเนอร์ โดย Ransomware มักจะใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องหรือช่องโหว่ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ในเบราว์เซอร์ แอพพลิเคชั่น หรือระบบปฏิบัติการ - ปลอดภัยด้วยระบบจัดการสิทธิ์
กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเอกสารเฉพาะบุคคล เช่น สามารถดูได้อย่างเดียว หรือสามารถแก้ไขได้ ลบไฟล์ได้ หรือแชร์ไฟล์ได้
จะดีกว่าไหมถ้าเราจะสามารถเข้าถึงเอกสารต่าง ๆ ได้จากที่ไหนก็ได้ สามารถจัดการสิทธิ์การเข้าถึงได้หลากหลาย สามารถจัดเก็บและค้นหาได้อย่างเป็นระบบ
สนใจโปรแกรมจัดเก็บเอกสารติดต่อเรา ..
วิธีการป้องกัน Ransomware
การโจมตีของ Ransomware ฟังดูน่ากลัวอย่างมาก และพวกมันอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งหากเกิดขึ้น แต่การป้องกันมันนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดายหากคุณวางแผนเอาไว้ล่วงหน้า และวันนี้เราเอาวิธีการป้องกันเจ้า Ransomware มาฝาก
- ทำการสำรองข้อมูล (Backup) เป็นประจำ
หากผู้ใช้งานติด Ransomware อย่างน้อยถ้ามีการสำรองข้อมูล (Backup) ก็จะสามารถกู้คืนไฟล์ของคุณได้ และเพื่อป้องกันข้อมูลที่ Backup ถูกเข้ารหัสไปด้วย ผู้ใช้งานควรสำรองข้อมูลลงบนอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอกเครือข่าย (Cloud Storage, External Hard Drive, USB Flash Drive - อัพเดทซอฟต์แวร์ในเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
การอัพเดทระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์จะช่วยป้องกันการโจมตีที่ต้องอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Adobe Flash, Microsoft Silverlight และเว็บเบราว์เซอร์ ควรติดตามและอัพเดทให้เป็น Version ปัจจุบัน - ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ (Anti-Mulware) ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดที่ถูกดาวน์โหลด ควรมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย - ตรวจสอบอีเมลที่เป็นอันตรายเบื้องต้น
ผู้ไม่หวังดีมักใช้อีเมลเป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้งาน ให้หลงเชื่อเปิดหรือดาวน์โหลดเอกสารแนบ ดังนั้นเมื่อเราได้รับอีเมลควรตรวจสอบอีเมลฉบับนั้นให้ดีเสียก่อน
อ่านเพิ่มเติม : ระบบจัดเก็บเอกสาร BeeECM ดีอย่างไร?
สรุป
ท้ายที่สุด เรื่องภัยไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะเมื่อเราใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นก็ย่อมมีการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น เป็นเงาตามตัวไปด้วย ถึงแม้รูปแบบวิธีการของภัยคุกคามจะมีมากมายแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ผลของมันรุนแรงเสมอ ในฐานะผู้ใช้ และผู้ดูแลระบบการป้องกันจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ BeeECM ระบบจัดการเอกสารช่วยดูแลข้อมูลสำคัญของคุณปลอดภัย